ในหนึ่งเดือนของผู้หญิงวัยเจริญพันธ์จะมีช่วงที่ร่างกายและจิตใจเปลี่ยนแปลง ค่อนข้างมาก นั่นคือ ช่วงที่มีประจำเดือน ช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน ส่งผลกระทบโดยตรงต่อร่างกายมากพอสมควร เพราะภูมิต้านทานต่ำมากกว่าปกติ ระบบข้อต่อ กระดูก กล้ามเนื้อมีการคลายตัวมากเกินไป ทำให้ข้อต่อ กล้ามเนื้อหลวม ซึ่งหากแข็งแรงไม่พอจะทำให้ร่างกายไม่สามารถต้านอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อมีภาวะนี้ เพ็ญพิชชากร แสนคำ นักกายภาพบำบัด สถาบันปรับโครงสร้างร่างกายอริยะ กล่าาวว่า ในช่วงมีประจำเดือนระบบกระดูกกล้ามเนื้อของอุ้งเชิงกราน หน้าท้อง ขา แข็งแรงหรือมีความทนทานไม่มากพอจะถูกยืดยาวออก หลวมตัวมากไป ทั้งข้อต่อและกล้ามเนื้อ ไม่เพียงพอที่จะพยุงร่างกายให้ต้านกับแรงโน้มถ่วงหรือไม่ทนทานต่อการใช้ กล้ามเนื้อในการทำกิจวัตรประจำวันในช่วงนั้นของเดือนได้ เมื่อเจอภาวะเช่นนี้ร่างกายจะมีกลไกบอกความเปลี่ยน แปลงที่เกิดขึ้น นั่นคืออาการเจ็บปวดต่างๆ ซึ่งแตกต่างกันออกไปแล้วแต่สภาวะแต่ละส่วนของร่างกาย ความไม่ทนทานหรือความไม่แข็งแรงของกระดูกกล้ามเนื้อนี้จัดได้ว่าเป็นส่วนของ โครงสร้างร่างกายที่ไม่สมดุลด้วย ระบบกระดูกกล้ามเนื้อคือระบบโครงสร้างร่างกาย มีความสำคัญเสมือนเสาหลักของร่างกาย เป็นศูนย์รวมของเส้นประสาท ระบบหลอดเลือด ระบบน้ำเหลือง เหล่านี้เป็นส่วนที่ประกอบขึ้นมาให้ร่างกายอยู่ได้ หลังช่วงล่างเป็นทางออกของรากประสาทที่มาควบคุมอวัยวะภายในช่องท้องทั้งหมด รวมถึงมดลูกด้วย ฉะนั้น หากกล้ามเนื้อหน้าท้อง อุ้งเชิงกราน สะโพกและขาไม่แข็งแรงพอทั้งจากการไม่ได้ออกกำลังกาย หรือออกกำลังกายไม่ถูกต้องหรือเกิดจากการสะสมของไขมันมากเกินไป จะส่งผลให้หลังแอ่นและมีผลให้การควบคุมการทำงานของอวัยวะในช่องท้องลดลง
การดูแลเบื้องต้นนักกายภาพ บำบัดแนะนำว่า
1.สิ่งที่ดีที่สุดคือการออกกำลังกายสม่ำเสมอ โดยเฉพาะท่า บริหารหน้าท้องและกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานง่ายๆ คือแขม่วท้องขมิบก้นให้เป็นกิจวัตรจนเคยชิน ก็ถือเป็นการบริหารที่ดีมากแล้ว แต่ต้องทำจนเคยชิน
2.ในช่วงที่เป็นและมีอาการ สิ่งที่จะช่วยได้คือเอาความร้อนประคบ เช่น แผ่นร้อนไฟฟ้า ถุงน้ำร้อน วางบนหน้าท้องหรือบริเวณที่มีอาการ เช่น หลัง ก้น ต้นขา แต่ก่อนวางต้องมีผ้าเช็ดตัววางก่อนถึงผิวสัก 1-2 ชั้น แล้วค่อยวางเพื่อให้ความร้อนค่อยๆ ซึมเข้าด้านใน และจะได้ไม่แสบผิว
3.การกินอาหาร ในช่วงที่เป็นควรเลือกอาหารอ่อน เน้นผักผลไม้ เพราะแป้งและเนื้อสัตว์จะส่งผลให้การทำงานของอวัยวะในช่องท้องยิ่งบีบตัว อาจทำให้มีอาการปวดมากขึ้น อาหารบางอย่างก็ไม่ควรกิน เช่น น้ำมะพร้าว และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วเหลืองเพราะอาหารดังกล่าวมีฮอร์โมนเอสโตรเจนที่จะ ไปสกัดกั้นการขับระดู
4.ในช่วงที่เป็นควรหลีกเลี่ยงภาวะที่ต้องยืนหรือเดินนานๆ ให้หาที่นั่งจะดีกว่า
5.งดการใส่ส้นสูงในช่วงที่เป็น เพราะการใส่ส้นสูงจะทำให้ข้อต่อที่หลัง สะโพก เข่า และข้อเท้าต้องเสียดสีกันมากขึ้น เพราะในช่วงนี้ร่างกายและข้อต่อจะหลวมมากกว่าปกติ
6.หากเป็นไปได้ควรหาซัพพอร์ตหลัง หรือกางเกงที่ช่วยพยุงกล้ามเนื้อสะโพกและขา แต่ต้องเป็นกางเกงที่พยุงได้จริงนถึงจะช่วยบรรเทาอาการได้จริง
7. สิ่งหนึ่งที่จะช่วยได้คือทำจิตใจให้สบาย ช่วงนี้จะหงุด หงิดมากกว่าธรรมดา ทุกครั้งที่หงิดหงุดก็หามุมสักมุมให้ตัวเองนั่งเอนหลังหลับตาหายใจเข้าลึกๆ เอาจิตอยู่ที่ลมหายใจเข้าออกสัก 4-5 นาที
ถ้าทำได้เช่นนี้จะไม่ทรมานหรือเป็นกังวลกับวันนั้นของเดือน หากต้องการทราบรายละเอียดหรือคำแนะนำเพิ่มเติม ปรึกษานักกายภาพบำบัดที่เชี่ยวชาญด้านโครงสร้างร่างกายได้ที่สถาบันปรับโครง สร้างร่างกายอริยะ ตึกไลฟ์เซ็นเตอร์ สาทร 0-2677-7166-7
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น